
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
การจัดการความยั่งยืนในมิติของสังคม
S6 การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

นโยบายด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน)
หลักการ
กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือสามารถส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้ทราบถึงประเด็นความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำไปประกอบการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมขององค์กร รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทสามารถกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของสังคม รวมถึงสร้างคุณค่าระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
บริษัทมีการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
- กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
ประกอบด้วย
- 1.1 ) การกำหนดนโยบายที่ครอบคลุมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมกับองค์กร แนวทางการระบุและประเมินความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการอาศัยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกัน
- 1.2 ) ดำเนินการและระบุเพื่อประเมินลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท การสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสำคัญรวมทั้งรายงานผลการมีส่วนร่วมของบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียต่อคณะกรรมการ
- การดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนขององค์กร ซึ่งคณะกรรมการได้กำหนดกรอบนโยบายไว้เป็นแนวทางสำหรับดำเนินการผู้นำฝ่ายจัดการเป็นผู้รับกรอบนโยบาย และติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทเพื่อให้เป็นไปในทิศทางที่ได้กำหนด โดยให้พนักงานได้เข้ามีส่วนร่วมเพื่อเสนอแนวคิดในการดำเนินการในรูปแบบกิจกรรมหรือโครงการ
หลักการระบุผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท
ลักษณะการมีส่วนร่วม | ความหมาย |
---|---|
พึ่งอาศัยบริษัท (Dependency) |
ผู้มีส่วนได้เสียที่พึ่งอาศัยจากกิจกรรม ผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัท ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือผู้มีส่วนได้เสียที่บริษัทฯต้องพึ่งอาศัยเพื่อการดำเนินการทางธุรกิจ |
ความรับผิดชอบของบริษัทฯ (Responsibility) |
ผู้มีส่วนได้เสียที่บริษัท ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น กฎหมาย การค้า การดำเนินธุรกิจ จริยธรรม |
ความช่วยเหลือของบริษัท (Tension) |
ผู้มีส่วนได้เสียที่ต้องการความช่วยเหลือจากบริษัทฯ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือ สิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด |
อิทธิพลต่อบริษัท (Influence) |
ผู้มีส่วนได้เสียที่มีอิทธิพลต่อบริษัทฯ ความคิดเห็นต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียอื่น หรือ การตัดสินใจต่าง ๆ |
มีความเห็นต่อบริษัทฯ (Diverse perspectives) |
ผู้มีส่วนได้เสียที่มีความคิดเห็นต่าง ๆ ที่ส่งผลไปสู่แนวคิดใหม่ และสามารถระบุวิธีการใหม่ที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน |
โดย SUTHA มุ่งมั่นเพื่อผลักดันให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คน และร่วมกันพัฒนาเพื่อมีส่วนร่วม โดยมุ่งหวังให้โลกที่ดีขึ้นและน่าอยู่ขึ้น เพื่อร่วมขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจในวงจรธุรกิจของ SUTHA ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งให้การสนับสนุนต่อธุรกิจ หรือเป็นผู้ได้รับผลกระทบทั้งภายในและภายนอกจากการทำธุรกิจของบริษัท ดังนี้

การจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย
การจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Periodization) เป็นขั้นตอนสำคัญในการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่บริษัทฯ ควรดำเนินการในการสร้างการมีส่วนร่วม และกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อดำเนิน กระบวนการหรือกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญในระยะยาวอย่างเหมาะสม โดยมีการพิจารณา ดังนี้
- อิทธิพล (Influence) หมายถึง ระดับที่ผู้มีส่วนได้เสียมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของบริษัท โดยมีอำนาจเปลี่ยนแปลง หรือมีอิทธิพลในการตัดสินใจในด้านใดด้านหนึ่งของบริษัท
- ความสนใจ (Interest) หมายถึง ระดับที่ผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสนใจในการดำเนินงานของบริษัทฯ
การจัดลำดับความมีอิทธิพลและความสนใจต่อบริษัทฯ ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มโดยบริษัทจัดลำดับการประเมินเป็น 5 ระดับ โดยใช้แนวทางประเมินตามตาราง (Stakeholder Matrix) ดังนี้
ระดับ | แกน Y _ อิทธิพล (Influence) | แกน X _ ความสนใจ (Interest) | ||
---|---|---|---|---|
1 | ต่ำ | มีอำนาจหรืออิทธิพลต่ำในการกำหนดผลลัพธ์ของบริษัทฯ | ต่ำ | มีความสนใจหรือมีความสำคัญน้อยต่อการกำหนดผลลัพธ์ของบริษัท |
2 | ปานกลาง | มีอำนาจหรืออิทธิพลปานกลางในการกำหนดผลลัพธ์ของบริษัทฯ | ปานกลาง | มีความสนใจหรือมีความสำคัญปานกลาง ต่อการกำหนดผลลัพธ์ของบริษัท |
3 | สูง | มีอำนาจหรืออิทธิพลสูงในการกำหนดผลลัพธ์ของบริษัทฯ | สูง | มีความสนใจหรือมีความสำคัญสูงต่อการกำหนดผลลัพธ์ของบริษัท |
4 | สูงมาก | มีอำนาจหรืออิทธิพลสูงมากในการกำหนดผลลัพธ์
ของบริษัทฯ |
สูงมาก | มีความสนใจหรือมีความสำคัญสูงมากต่อการกำหนดผลลัพธ์ของบริษัท |

- ผู้มีบทบาทที่สำคัญหลัก (Key Player) คือ ผู้มีส่วนได้เสียที่มีอิทธิพลและความสนใจสูง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเชิงบวก หรือเชิงลบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทควรให้ความสำคัญอันดับแรกกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มนี้ โดยคงความพึงพอใจสูงสุดของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มนี้
- ผู้กำหนดบริบท (Context Setters) คือ ผู้มีส่วนได้เสียที่มีอิทธิพลสูงแต่มีความสนใจน้อย เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงบริบทให้เอื้อหรือขัดขวางการดำเนินงานของบริษัท บริษัทจึงควรสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาให้ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มนี้มีมุมมองที่เป็นบวกต่อบริษัทฯ ซึ่งอาจพัฒนาความสนใจของกลุ่มนี้เพื่อปรับไปสู่กลุ่มผู้มีบทบาทที่สำคัญหลักต่อไป หรือบรรเทาผลกระทบด้านลบเพื่อความพึงพอใจของบริษัท
- ผู้แสดงความสนใจ (Subject) คือ ผู้มีส่วนได้เสียที่มีอิทธิพลน้อยแต่มีความสนใจสูง โดยบริษัทฯ อาจสนับสนุนให้มีการรวมตัวของกลุ่มผู้แสดงความสนใจ เพื่อเพิ่มอำนาจและอิทธิพลที่เอื้อต่อการดำเนินงานของบริษัท และปรับไปสู่กลุ่มผู้มีบทบาทที่สำคัญหลัก
- ผู้มีความสนใจน้อย (Crow) คือ ผู้มีส่วนได้เสียที่มีอิทธิพลและความสนใจต่ำ บริษัทฯ อาจมองกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการพัฒนาความสนใจ หรืออิทธิพลต่อบริษัทฯ ได้ ซึ่งบริษัทฯ ไม่ควรเน้นความพยายามในการบริหารจัดการกลุ่มนี้มากนัก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่ำสุด
บริษัทได้ประเมินจัดลำดับความสำคัญจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักโดยใช้หลักประเมินด้านอิทธิพลและความสนใจ และจัดลำดับความสำคัญเพื่อประเมินในการจัดทำแผนงานหรือกิจกรรมในการสร้างการมีส่วนรวมของผู้มีส่วนได้เสีย

กรอบกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
บริษัทฯ มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านผู้จัดการแผนกที่การปฎิบัติงานมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม ซึ่งสามารถประสานความร่วมมือไปยังผู้เกี่ยวข้อง เช่น นักลงทุนสัมพันธ์, ทีมพัฒนาด้านความยั่งยืน และคณะอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง เช่น คณะกรรมการสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน , คณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อม, ทีมธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมกันกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม โดยดำเนินการดังนี้
- กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการกำหนดขอบเขตการสร้างการมีส่วนร่วม เช่น การพัฒนาความร่วมมือ, การให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน, การให้ข้อมูลกับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน , การพัฒนาความสัมพันธ์, การร่วมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการพัฒนาหามาตรการลดต้นทุน, การร่วมพัฒนาศักยภาพในการร่วมหามาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นต้น
- ดำเนินการในการริ่เริ่มกระบวนการระบุ , วิเคราะห์และ จัดทำแผนกิจกรรมการมีส่วนร่วม โดยกระบวนการมีหลักเกณฑ์ตามที่แนวทางและรูปแบบกิจกรรมเป็นไปตามแนวทางกำหนด ทั้งนี้เป็นไปตามกรอบกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่ได้กำหนด
บริษัทฯ ดำเนินกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย 5 ระดับ ผ่านวิธีการต่างๆ ดังนี้
ระดับที่ 1 การให้ข้อมูลข่าวสาร (To Inform) : เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้มีส่วนได้เสียทุกรายในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปฎิบัติงาน การดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทมีหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นจริง ถูกต้อง ทันสมัยผ่านช่องทางที่สามารถเข้าถึงได้เป็นระดับที่ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมน้อยที่สุด แต่ถือว่าเป็นขั้นพื้นฐานและมีความสำคัญ
ระดับที่ 2 การปรึกษาหารือ (To Consult) : เป็นการเปิดให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และแสดงความ คิดเห็น รวมทั้งข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการ/การปฏิบัติงานของบริษัทอย่างอิสระและเป็นระบบ โดยจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และนำข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น และประเด็นความเสี่ยงไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงนโยบาย พัฒนาวิธีการปฏิบัติงานในองค์กร และประกอบการตัดสินใจ
ระดับที่ 3 การเข้ามามีบทบาท (To Involve) : เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องในกระบวนการ ตัดสินใจ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างจริงจังและมีจุดมุ่งหมายชัดเจน โดยมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การวางแผนงานโครงการและวิธีการปฏิบัติงาน
ระดับที่ 4 ความร่วมมือ (To Collaborate) : เป็นการให้บทบาทผู้มีส่วนได้เสีย มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การร่วมดำเนินงานในขั้นตอนของการตัดสินใจ ตั้งแต่การระบุปัญหา พัฒนาทางเลือก และแนวทางแก้ไขรวมทั้งการเข้ามามีบทบาทร่วมในการดำเนินงาน/ กิจกรรม โดยความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียจะสะท้อนออกมาในการตัดสินใจที่ค่อนข้างสูง ซึ่งการมีส่วนร่วมในระดับนี้ เช่น การร่วมมือกับลูกค้าพัฒนาสินค้า โซลูชั่น และเข้ามามีบทบาทเป็นคณะกรรมการร่วม/คณะที่ปรึกษา ที่มีบทบาทหรืออำนาจหน้าที่ร่วมในการขับเคลื่อนนโยบาย/ร่วมดำเนินการในภารกิจบางอย่าง
ระดับที่ 5 การให้อำนาจ (To Empower) : เป็นระดับที่บทบาทของผู้มีส่วนได้เสียในการเข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูงสุด เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียมีบทบาทในการเป็นผู้ตัดสินใจ โดยบริษัทจะต้องดำเนินการตามการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย รูปแบบการมีส่วนร่วมในระดับนี้ ได้แก่ การลงประชามติ ผ่านวาระการประชุมสำคัญต่างๆ
การให้ข้อมูลข่าวสาร | การปรึกษาหารือ | การเข้ามามีบทบาท / ความร่วมมือ / การให้อำนาจ |
---|---|---|
การประชุมสาธารณะ
การบรรยายสรุปการนำเสนอ/สื่อ/ข่าว มุมประชาสัมพันธ์/ให้ข้อมูล สายด่วน จดหมายข่าว แถลงการณ์ โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ เอกสารข้อเท็จจริง ความบันเทิงมัลติมีเดีย |
การประชุมสาธารณะ การสอบถาม
การประชุมเชิงปฏิบัติการ ศึกษาร่วมกันกับกลุ่มเป้าหมาย การสัมภาษณ์ แบบสำรวจ การสำรวจความคิดเห็น แบบสอบถาม โซเชียลมีเดีย กล่องข้อเสนอแนะ แบบฟอร์มแสดงความคิดเห็น |
การประชุมเชิงปฏิบัติการฉันทามติ
กลุ่มงานวิจัยศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ทีมงานเฉพาะกิจ/กลุ่มดำเนินงาน คณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการ ชุดย่อย การเลือกตั้ง โหวต โซเชียลมีเดีย |
บริษัทฯ มีการดำเนินการเลือกแนวทางดำเนินการข้างต้นในการสร้างมีส่วนรวมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มตามความเหมาะสมกับ เป้าหมายตามแผนงานกิจกรรมและเป็นไปตามกระบวนการและวัตถุประสงค์ที่กำหนด และมีการจัดทำรายงานผลการดำเนินการเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการเป็นประจำทุกปี ทั้งผ่านการนำเสนอในรายงานประจำปีที่เสนอต่อคณะกรรมการ การรายงานผลการดำเนินการของคณะกรรมการชุดย่อย และการนำเสนอจากผู้บริหารกรณีเป็นกิจกรรมการดำเนินการ หรือกิจกรรมที่ต้องมีการใช้ทุนหรืองบประมาณที่สำคัญ
กิจกรรมการมีส่วนร่วมสําหรับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มสําคัญในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
กิจกรรมการมีส่วนร่วมและการพัฒนาความร่วมมือและความสัมพันธ์กับลูกค้า | ||
---|---|---|
การสำรวจความคิดเห็นเพื่อประเมินผลความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายขายและ การตลาด โดยวิธีการส่งแบบสำรวจเพื่อให้ลูกค้าตอบแบบสอบถาม และนำผลจากแบบสอบถามวิเคราะห์ ประเมินในการหามาตรการดำเนินการในการปรับปรุงในการตอบสนองต่อความต้องการ ของด้านต่าง ๆ เช่น คุณสมบัติและมาตรฐานผลิตภัณฑ์, บรรจุภัณฑ์, การให้บริการขนส่ง, การดำเนินการด้านเอกสารประกอบการขาย และการประเมินในการดำเนินกิจกรรม หรือร่วมพัฒนาให้สอดคล้องเป็นไปตามความคาดหวังของลูกค้าแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม |
![]() |
![]() |
กิจกรรมการการพัฒนาความร่วมมือลูกค้า
ผ่านโครงการพบปะด้วยแนวทาง Open Space Meeting ที่ลูกค้าเป็นผู้จัดบริษัทเป็นผู้เชิญลูกค้าเพื่อเข้าเยี่ยมชมกระบวนการของบริษัท หรือของลูกค้า |
||
---|---|---|
ฝ่ายขายและการตลาดผู้รับผิดชอบในการประสานความร่วมมือ ระหว่างลูกค้าและหน่วยงานภายในองค์กร เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการในส่วนที่เกี่ยวข้อง |
![]() |
วัตถุประสงค์:
ร่วมรับทราบกระบวนการและข้อมูลในการผลิตสินค้าและบริการ และสื่อสารความต้องการ ความคาดหวัง และการดำเนินการร่วมกัน ประโยชน์กับบริษัท: ได้รับข้อมูลความต้องการและความคาดหวังจากกลุ่มลูกค้าที่ตรงประเด็น ประโยชน์กับผู้มีส่วนได้เสีย: ได้รับทราบข้อมูลของบริษัท และแนวทางตอบสนองต่อความคาดหวัง |
กิจกรรม Supplier Days เพื่อสื่อสารเข้าร่วมกิจกรรมกับคู่ค้าที่สำคัญ | ||
---|---|---|
ฝ่ายขายและการตลาดผู้รับผิดชอบในการประสานความร่วมมือระหว่างลูกค้า และประสานงานกับหน่วยงานในองค์กรเพื่อเข้าร่วม |
![]() |
วัตถุประสงค์:
ร่วมพัฒนากระบวนการภายใต้ห่วงโซ่คุณค่า และลดผลกระทบภายในกระบวนการร่วมกัน ประโยชน์กับบริษัท: - ได้รับข้อมูลความต้องการและแนวทางดำเนินการที่เป็นแนวทางการควบคุมตามมาตรฐานที่กำหนด - ความรู้ และมาตรการในการดำเนินการเพื่อหาแนวทางการลด GHG ประโยชน์กับผู้มีส่วนได้เสีย: ร่วมพัฒนาคู่ค้าที่เป็นผู้สนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการ |
กิจกรรม Action Research: โดยเป็นความร่วมมือกับกลุ่มผู้ถือหุ้นหลัก, ลูกค้า, และผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าในกลุ่มต่าง ๆ | ||
---|---|---|
พัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับลูกค้าในกลุ่มต่าง ๆ ฝ่ายขายส่วนพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์จะประสานงานร่วมกับลูกค้าและฝ่ายผลิต รวมถึงผู้สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการเพื่อปรับกระบวนการให้ได้คุณสมบัติที่ลูกค้าต้องการ |
![]() |
วัตถุประสงค์:
กิจกรรมในการสำรวจความต้องเฉพาะเจาะจงสำหรับการพัฒนาความร่วมมือ เพื่อหาแนวทางในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อนำข้อมูลที่ได้กลับมาพัฒนากระบวนการเพื่อเป้าหมายในการผลิตและส่งมอบสินค้า และบริการเพื่อให้ตรงตามความคาดหวัง ประโยชน์กับบริษัท: ได้รับข้อมูลเชิงลึกสำหรับการนำมาวิเคราะห์และพัฒนากระบวนการร่วมถึง ผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ประโยชน์กับผู้มีส่วนได้เสีย: สามารถมีแหล่งวัตถุดิบที่จัดส่งผลิตภัณฑ์ได้ตามที่ต้องการ |
กิจกรรม Action Research: โดยเป็นความร่วมมือกับลูกค้า, ในการพัฒนากระบวนการจัดส่ง บรรจุ เพื่อลดค่าใช้จ่ายบรรจุภัณฑ์, และเพิ่มประสิทธิภาพในการการจัดเก็บวัตถุดิบ, และประสิทธิภาพในกระบวนการป้อนวัตถุดิบให้กับลูกค้า | ||
---|---|---|
ฝ่ายขายและการตลาดร่วมกับฝ่ายวิศวกรของ บริษัท GLE ในการพัฒนากระบวนการที่สนับสนุนต่อการลดต้นทุนด้านผลิตภัณฑ์ และสอดคล้องกับความต้องการและกระบวนการของลูกค้า |
![]() |
วัตถุประสงค์:
การให้การสนับสนุนและสร้างความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์พร้อมบริการทางวิศวกรรม ในการออกแบบกระบวนการและสนับสนุนกระบวนการให้กับลูกค้า ประโยชน์กับบริษัท: สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการ ประโยชน์กับผู้มีส่วนได้เสีย: สามารถช่วยลดต้นทุนและสามารถช่วยลด GHG การการลดการใช้พลังงานในการบรรจุและขนส่ง |
กิจกรรมการการมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้นที่สำคัญ
ผ่านการประชุมผู้ถือหุ้น และการจัดกิจกรรม Opportunity Day รวมถึงความร่วมมือในการสนับสนุนหรือพัฒนาเครือข่ายระบบการสื่อสารต่าง ๆ ผ่านการส่งมอบนโยบายต่าง ๆ ที่สำคัญ |
||
---|---|---|
ฝ่ายจัดการบริหารและนักลงทุนสัมพันธ์จะเป็นผู้ดูแลกิจกรรมการมีส่วนรวมของผู้ถือหุ้นในการจัดการประชุมผู้ถือหุ้น
รวมถึงกิจกรรม Opportunity Day ซึ่งเป็นกิจกรรมพบปะนักลงทุนที่ตลาด
หลักทรัพย์เป็นผู้สนับสนุน รวมถึงการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
ผ่านหน้าเว็บไซด์ของตลาดหลักทรัพย์ และเว็บไซด์ของบริษัท
ส่วนการดำเนินการอื่นๆ จะมีฝ่ายบริหาร และหรือหัวหน้างานในส่วนงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดูแล |
สำหรับการประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งมีผู้ถือหุ้นรายย่อยให้ความสนใจในการเข้าร่วมในแต่ละปี
และมีความคาดหวังต่อการจัดการประชุมแบบ
Open Meeting ณ สถานที่ประชุม
เนื่องจากผู้ถือหุ้นรายย่อยส่วนมากที่มีการเข้าร่วมการประชุมเป็นประจำในแต่ละปี
ไม่สะดวกในการเข้าร่วมการประชุมแบบ Electronic-Meeting
ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นให้สอดคล้องตามความคาดหวังดังกล่าว
![]() การจัดกิจกรรมพบปะนักลงทุน SET Opportunity Day ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายในการดำเนินการจัดไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง / ปี สำหรับปี 2566 สามารถจองตารางและจัดกิจกรรม จำนวน 3 ครั้ง เพื่อรายงานผลประกอบการ
![]() การเข้าร่วมกิจกรรมการประเมินผลด้านความยั่งยืนกับกลุ่มผู้ถือหุ้น คามิวส์ ซึ่งในส่วนประเทศไทยมีระดับผลการประเมิน Silver Y2023 and Gold Y2024 ![]() |
วัตถุประสงค์:
- การปฏิบัติตามกฏหมายและการจัดให้มีช่องทางการรายงานผลการดำเนินการและข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้ถือหุ้นรายย่อย - การร่วมมือเพื่อพัฒนาขับเคลื่อนโครงการที่สำคัญซึ่งส่งเสริมต่อการดำเนินธุรกิจและการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ประโยชน์กับบริษัท: ได้รายงานและได้รับทราบความต้องการและความคาดหวัง ประโยชน์กับผู้มีส่วนได้เสีย: ได้รับทราบข้อมูลของบริษัทและแนวทางตอบสนองต่อความคาดหวัง |
กิจกรรมการมีส่วนร่วมของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
การสำรวจความคิดเห็นเพื่อประเมินผลความ พึงพอใจของพนักงาน ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่ม บริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อประเมินและวิเคราะห์สำหรับนำผลการระเมินปรับปรุงและพัฒนาในการตอบสนองต่อความคาดหวังของพนักงานด้านผลิตภัณฑ์และ สอดคล้องกับความต้องการและกระบวนการของลูกค้า |
![]() |
![]() |
||||
![]() กิจกรรมการเข้าเยี่ยมชมโรงงานของกรรมการและผู้บริหารจากกลุ่มผู้ถือหุ้นคามิวส์
กิจกรรมการ : Cost Saving Program ประจำปี 2566
กิจกรรมการสัมมนาพัฒนาผู้บริหารและการมีส่วนรวมกับผู้บริหารกลุ่มจากคามิวส์
กิจกรรมส่งท้ายปีการมีส่วนรวมของพนักงานเพื่อรังสรรค์ความสุข ความสัมพันธ์ และความผูกพันในองค์กร
|
สามารถโหลดไฟล์จากลิงค์ด้านล่างนี้
1. การสำรวจความคาดหวัง การบริหารจัดการ
ชื่อไฟล์ | : | การสำรวจความคาดหวัง การบริหารจัดการ |
ขนาดไฟล์ | : | 423 KB |
ชนิดไฟล์ | : |
2. กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ
ชื่อไฟล์ | : | กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ |
ขนาดไฟล์ | : | 2.31 MB |
ชนิดไฟล์ | : |