ผู้เกี่ยวข้อง |
บทบาทและความรับผิดชอบ |
คณะกรรมการ
(BOD) |
- อนุมัติกรอบนโยบาย / กฎบัตร / รายงาน รวมถึงมีความเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อองค์กรและทำให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อจัดการความเสี่ยงนั้น ๆ
|
คณะกรรมการตรวจสอบ
(AC) |
- ทำให้มั่นใจว่าบริษัทมีการควบคุมภายในที่เหมาะสมเพื่อจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
- กำกับดูแลและติดตามการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นอิสระ
- ติดตามประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
- รายงานต่อคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับประสิทธิผลการควบคุมภายใน
- การให้ความเห็นหรือการสื่อสารกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้เข้าใจความเสี่ยงที่สำคัญที่มีความเชื่อมโยงกับการควบคุมภายใน
|
คณะกรรมการบริหาร
(COMEX) |
- หน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การประกอบกิจการของบริษัท รวมถึงกำกับดูแลและติดตามเพื่อให้ฝ่ายบริหารจัดการดำเนินการเพื่อให้กระบวนการธุรกิจบรรลุเป้าหมายรวมถึงการประเมินผลการบริหารจัดการรวมถึงการควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
|
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
(RMC) |
- พิจารณากำหนดและทบทวนนโยบายกรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กรและแนวทางการจัดการภาวะวิกฤตที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท
- ผลักดันให้มีการบริหารความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงและการรายงานผลการจัดการความเสี่ยง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และการคาดคะเนความเสี่ยงในอนาคต
- กำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) โดยพิจารณาถึงเป้าหมายและการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ รวมถึงการสร้างคุณค่าเพิ่มในระดับองค์กร
- กำกับดูแลเพื่อให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจรวมถึงแนวทางจัดการวิกฤตการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ และบูรณาการเพื่อเชื่อมโยงการบริหารความเสี่ยงองค์กร การบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน และการควบคุมภายในเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืน
- เสนอแนะแนวทางและติดตามเพื่อประเมินผลการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งแนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน ควบคุมหรือบรรเทา (Mitigation Plan) เพื่อให้การพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
- กำกับดูแลเพื่อมอบหมายฝ่ายจัดการให้มีการดำเนินการตามแผนจัดการด้านความเสี่ยงขององค์กร และความเสี่ยงด้านความยั่งยืน และมีกระบวนการจัดการเพื่อลดผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัท รวมถึงติดตาม ทบทวน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการจัดการความเสี่ยงที่เพียงพอและเหมาะสม
- สนับสนุนและพัฒนาการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงองคกร์ และความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมการบริหารจัดการทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและธรรมาภิบาลในทุกระดับทั้งภายในรวมถึงการสานสัมพันธ์เพื่อลดผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบจากความเสี่ยง หรือผลกระทบต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ
- ในกรณีมีปัจจัยหรือเหตุการณ์สำคัญซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างมีนัยสำคัญทั้งความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความยั่งยืน การเงิน หรือการดำเนินการที่สำคัญ ต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการเพื่อทราบ ทั้งนี้หากเป็นเรื่องเร่งด่วนให้รายงานผ่านช่องทางสื่อสารโดยอีเมลล์ หรือระบบการสื่อสารที่ได้กำหนดขึ้น
|
กรรมการผู้จัดการ
MD
|
- การจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนเพื่อให้มีการดำเนินการในการบริหารจัดการความเสี่ยง
- ติดตามความเสี่ยงที่สำคัญทั้งองค์กรและทำให้มั่นใจได้ว่ามีแผนการจัดการที่ดีและเหมาะสม
- ติดตามความเสี่ยงทางกลยุทธ์ ความยั่งยืน การเงิน การดำเนินการที่สำคัญ รวมถึงความเสี่ยงที่อุบัติขึ้นใหม่ และสร้างความมั่นใจว่าได้มีแผนการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม รวมถึงการจัดการต่อปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของบริษัท
- ส่งเสริมนโยบายการบริหารความเสี่ยงและทำให้มั่นใจว่ากระบวนการบริหารความเสี่ยงองค์กรและความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ให้ได้รับการบริหารจัดการทั่วทั้งองค์กร ทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงองค์กรและความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของกิจการ
|
รองกรรมการผู้จัดการ
Deputy MD |
- ติดตามความเสี่ยงทางกลยุทธ์และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการที่สำคัญและทำให้มั่นใจว่ามีการวางแผนการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม
- ส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงและทำให้มั่นใจได้ว่าผู้จัดการทุกฝ่าย หรือหัวหน้าแต่ละหน่วยงานให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในฝ่ายของตนมีการดำเนินการเพื่อประเมินประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญที่เกี่ยวข้องในขอบเขตความรับผิดชอบ และร่วมกันในการจัดทำแผนเพื่อดำเนินการจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และการดำเนินการที่ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก
|
ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
HR department |
- จัดทำแนวทางช่องทางในการสื่อสารเพื่อปลูกจิตสำนึกแก่บุคคลากรของบริษัท เพื่อให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการจัดให้มีการอบรมเพิ่มความรู้ความสามารถเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้และเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง และมีศักยภาพอย่างเพียงพอเพื่อนำไปปรับใช้ในแนวทางและกระบวนบริหารจัดการความเสี่ยงไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานในส่วนที่รับผิดชอบ
|
ผู้จัดการฝ่าย
Manager or Head of Department |
- ศึกษาและทำความเข้าใจคู่มือการบริหารจัดการความเสี่ยง และควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรในหน่วยงานมีความรู้และเข้าใจแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อนำไปปรับใช้ในกระบวนการทำงาน
- ทำให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานรายงานมีการประเมินเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินการในขอบเขตงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการในการจัดการเพื่อควบคุมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อแผนและเป้าหมายในการดำเนินการที่ตั้งไว้ และรายงานความเสี่ยงอย่างเพียงพอ ทันการณ์ รวมถึงมีการประเมินและทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
- ส่งเสริมพนักงานในฝ่ายให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงขององค์กรและการบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
|
ทีมงานฝ่ายจัดการ |
- เป็นผู้จัดการระดับจัดการฝ่ายที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อทำการประเมินถึงความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน รวมถึงการระบุหรือประเมินความเสี่ยงที่สำคัญระดับองค์กร ในแต่ละปี
|
ผู้ตรวจสอบระบบควบคุมภายใน
(IA) |
- สอบทานประสิทธิผลของการควบคุมภายในผ่านตรวจสอบภายในประจำปี ซึ่งเป็นการตรวจสอบกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญ รวมถึงติดตามปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบ
|
ผู้สอบบัญชี
(Auditor) |
- สอบทานและตรวจสอบรายการ รายงานทางการเงินและการจัดทำงบการเงิน
|
หน่วยงานเจ้าของประเด็นความเสี่ยง
(Risk Owner) |
- ดำเนินการตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม การทบทวนปัจจัย และสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินการสม่ำเสมอ
|
บุคลากรของบริษัท
Employees |
- ศึกษานโยบายหรือคู่มือที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง และทำความเข้าใจเพื่อนำไปปรับพัฒนากระบวนการทำงานปัจจุบันโดยกรอบแนวทางเพื่อให้การคิด วิเคราะห์เพื่อบริหารจัดการกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และให้มีการตระหนักเพื่อให้เกิดความระมัดระวัง รวมถึงมีการประเมินถึงปัจจัยต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกที่เกิดความเปลี่ยนแปลงเพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อบริหารจัดการ หรือหาแนวทางป้องกันได้ทันท่วงที
|