

บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) (บริษัท) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2546 โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท และในปี 2548 กิจการเพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเป็น 90 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2557
กิจการได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) โดยปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 375 ล้านบาทและทุนชำระแล้ว จำนวน 362.39 ล้านบาท

เพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเป็น 100 ล้านบาท และเพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเป็น 150 ล้านบาทในปีเดียวกัน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอีกประมาณ 54,750 ตันต่อปี โดยลงทุนซื้อเครื่องจักร สร้างเตาเผาหินปูนเพิ่มจำนวน 1 เตา รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
เพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเป็น 175 ล้านบาท เพื่อใช้ในการขยายกิจการ ดังนี้
- ใช้ในการลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตอีกประมาณ 54,750 ตันต่อปี โดยก่อสร้างเตาเผาหินปูนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มอีกจำนวน 1 เตา ซึ่งเริ่มดำเนินการผลิตได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2553
- ใช้ในการจัดซื้อที่ดินใกล้เคียงโรงงานเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการจัดเก็บวัตถุดิบ
- ใช้ในการลงทุนพัฒนาระบบการเผาหินปูนใหม่เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในเดือนธันวาคม 2550 สำหรับกิจการผลิตแคลเซียมออกไซด์
บริษัทได้ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลด้านการจัดการระบบคุณภาพ ISO 9001:2008 โดยบริษัทได้นำมาตรฐานดังกล่าวมาปรับใช้กับการดำเนินงานของบริษัท โดยพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยตระหนักถึงการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ
เพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเป็น 190 ล้านบาท โดยใช้ในการซื้อที่ดิน เพื่อขยายส่วนโรงงานที่ ต. ช่องสาริกา จ.ลพบุรี ประมาณ 50 ไร่
บริษัทได้รับรางวัลสถานประกอบการประเภทโรงโม่บดหรือย่อยหินที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยมตามโครงการ โรงโม่ เหมืองหิน ติดดาว ประจำปี 2551 จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

บริษัทได้รับรางวัลสถานประกอบการประเภทโรงโม่บดหรือย่อยหินที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยมตามโครงการ โรงโม่ เหมืองหิน ติดดาว ประจำปี 2552
ดำเนินการลงทุนเตรียมการก่อสร้างเตาเผาปูนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่ม เพื่อขยายกำลังการผลิตอีกจำนวน 2 เตา ซึ่งสามารถเริ่มดำเนินการผลิตได้ในเดือนธันวาคม 2554 และกุมภาพันธ์ 2555 ตามลำดับ
ปรับปรุงพื้นที่ภายในโดยรอบโรงงานโดยการเทคอนกรีต เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการขนส่งภายในโรงงาน
บริษัทได้รับรางวัลสถานประกอบการประเภทโรงโม่บดหรือย่อยหินที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมดีเยี่ยม โรงโม่ เหมืองหิน ติดดาว ประจำปี 2553 โดยได้รับรางวัลเป็นระยะเวลา 3 ปีซ้อน
เพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเป็น 225 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายกำลังการผลิตและปรับโครงสร้างเงินทุนสำหรับเตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในเดือนเมษายน 2554 สำหรับกิจการผลิตแคลเซียมออกไซด์และแคลเซียมไฮดรอกไซด์
บริษัทได้ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2004 โดยการปรับใช้มาตรฐานดังกล่าว ทำให้บริษัทสามารถบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นระบบ เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี รวมทั้งเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
บริษัทได้ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลด้านระบบจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย OHSAS 18001:2007 ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นการเน้นในเรื่องของการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน และการดูแลด้านความปลอดภัย

แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) หรือ Golden Lime Public Company Limited
บริษัทได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสหกรรมสีเขียว (Green Industry) จาก กระทรวงอุตสาหกรรม ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System)
วันที่ 26-28 มีนาคม 2557 บริษัทฯ ได้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในส่วนที่เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป
จำนวน 75 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 3.7 บาท คิดเป็นเงินจานวน 277.5 ล้านบาท
31 มีนาคม 2557 บริษัทฯ ได้รับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนทั้งจำนวนและได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุน
ชำระแล้วกับกระทรวงพาณิชย์ โดยบริษัทฯ มีทุนชำระแล้วทั้งสิ้น 300 ล้านบาท
2 เมษายน 2557 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับหลักทรัพย์ของบริษัทฯ
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า SUTHA
โดยเริ่มทำการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นวันแรก (First day trade) ในวันที่ 3 เมษายน 2557
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2557 บริษัทฯ ได้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI)
โดยบริษัทฯ มีแผนการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าแคลเซียมออกไซด์ซึ่งยื่นคำขอรับการส่งเสริมที่กำลังการผลิต
120,000 ตัน โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนจานวน 250 ล้านบาท มีสถานที่ตั้งโครงการ ได้แก่ สาขาแห่งที่ 3 ตำบลห้วยป่าหวาย
อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ดำเนินการก่อสร้างเตาเผาปูนขาว ขนาด 150 ตัน/วัน จำนวน 2 เตาซึ่งคาด
ว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560 โดยบริษัทมีแผนดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จทีละเตา
บริษัทฯ มีการส่งมอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามโครงการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์นับเป็นโครงการเริ่มแรก
โดยหลังจากการส่งมอบแล้วลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการติดตั้ง เมื่อลูกค้าทาการติดตั้งแล้วเสร็จจะเริ่มทาการทดสอบ
(Commissioning) เพื่อเดินกระบวนการผลิต โดยบริษัทฯ จะเป็นที่ปรึกษาในการทดสอบเดินกระบวนการผลิตจนกว่า
จะแล้วเสร็จ
บริษัทฯ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งผลิตจากแร่แบไรท์ ซึ่งมีชื่อเรียกทางเคมีว่า แบเรียมซัลเฟต (BaSO4)
โดยมีการทดลองและทดสอบกระบวนการผลิตเพื่อสามารถผลิตสินค้าจัดจำหน่ายซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทฯ
โดยเริ่มมีการจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมการขุดเจาะน้ามันนับเป็นปีแรก
บริษัทฯ ได้รับผลการประเมินการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 นับเป็นปีแรกตามโครงการ
ประเมินคุณภาพการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2558 (Annual General Meeting : AGM) ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยและสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยเป็นผู้จัด
ซึ่งเป็นปีแรกที่บริษัทฯ ได้รับการสารวจ โดยผลการประเมินคุณภาพการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญ ประจำปี 2558 มี
ผลประเมินอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม
บริษัทฯ ได้รับผลประเมินการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนไทย ตามแผนพัฒนาความยั่งยืนสาหรับบริษัทจดทะเบียน
ซึ่งประเมินโดยสถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ซึ่งมีการสารวจเป็นปีที่สองนับจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทมีระดับการ
พัฒนาการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชั่นในระดับที่ 3 Established
บริษัทฯ ได้รับผลสารวจตามโครงการสารวจการกากับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนซึ่งนับเป็นปีแรกที่บริษัทฯ
ที่ได้รับการสารวจหลังการจดทะเบียนเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2557 และในปี 2558 บริษัทฯ
ได้รับผลประเมินโดยภาพรวมในระดับดี ซึ่งประเมินผลโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
บริษัทฯ ได้รับการประกาศเกียรติเข้าร่วมและให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการผลิตแรงงานตาม
ความต้องการสถานประกอบกิจการปี 2558 ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี และ
พระนครศรีอยุธยา จากมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
บริษัทฯ ได้รับประกาศเกียรติคุณสถานประกอบการที่มีความมุ่งมั่นดำเนินโครงการสถานประกอบการปลอดภัยเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
บริษัทฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณตามโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานความต้องการสถานประกอบกิจ ปี 2558 จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สังกัดกระทรวงแรงงาน
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่และโครงสร้างการบริหารจากครอบครัวนายเกียรติกุล
มนต์เสรีนุสรณ์ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโดยกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่เป็นกลุ่มบริษัทฯในเครือ Carmeuse ซึ่งเป็นผู้ผลิตปูนขาวชั้นนำของโลก
ร่วมกับกลุ่มบริษัทในเครือ GP Group
ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนสำหรับผลิตภัณฑ์แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ตามบัตรส่งเสริมเลขที่ 59-0430-100-1-0 กำลังการผลิต 116,800 ตัน
ได้รับใบอนุญาตในการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทปูนไลม์อุตสาหกรรม ใบอนุญาตที่ 1240-7/319 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 ภายใต้เครื่องหมายการค้าตราแรด และตราภูเขา
ได้รับการรับรองในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการสำหรับเครื่องหมายการค้า ตามทะเบียนเลขที่161104081 ลงวันที่ 13 กันยายน 2559
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2559 มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยบริษัท ซีอี ไลม์ (ประเทศไทย)
จำกัด เข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 45 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ ,
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างคณะกรรมการบริษัท และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้บริหาร
ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม 15 พฤศจิกายน 2559 บริษัท ซีอีไลม์ (ประเทศไทย)
ได้ยื่นคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ โดยรายงานผลการเสนอซื้อ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559
ซึ่งมีจำนวนหุ้นที่รับซื้อในช่วงเวลาทำคำเสนอซื้อรวม 7.13 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ
โดยบริษัท ซีอีไลม์ (ประเทศไทย) มีสัดส่วนการถือหุ้นหลังจากการทำคำเสนอซื้อ คิดเป็นร้อยละ 52.13 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ
ได้รับการรับรองฮาลาล สำหรับผลิตภัณฑ์ปูนขาวและแคลเซียมคาร์บอเนต สำหรับผลิตภัณฑ์ตามเครื่องหมายการค้าตราแรด
(RHINOCEROS) ตามหนังสือเลขที่ ฮล.ลบ.70/2559 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2559
โครงการซึ่งบริษัทฯ มีการจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นโครงการแรก ในประเทศอินโดนีเซียเริ่มเดินการผลิตเป็นครั้งแรกในเดือน พฤศจิกายน 2559
จัดตั้งบริษัท โกลเด้น ไลม์ เอ็นจิเนียริ่ง จากัด บริษัทย่อย ซึ่งบริษัทถือหุ้นในสัดส่วน 99.99 โดยจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560 เพื่อประกอบธุรกิจด้านวิศวกรรม
และการออกแบบรวมถึงผลิตและจาหน่ายเครื่องจักรอุปกรณ์ อะไหล่เครื่องจักรรวมถึงบริการให้คาปรึกษาและติดตั้งเตาเผาปูนขาวประเภท EOD Lime Kiln.
ได้รับการรับรองในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการสาหรับเครื่องหมายการค้า ตรา
ประเภทเครื่องจักรเตาเผาปูนขาวที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมีทั่วไป โดยออกให้กับ บริษัท
โกลเด้น ไลม์ เอ็นจิเนียริ่ง จากัด บริษัทย่อย ตามทะเบียนเลขที่ 171102641 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2560
ได้รับการรับรองในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการสาหรับเครื่องหมายการค้า ตรา
ประเภทงานออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมเตาเผาปูนขาวเพื่อใช้กับ
อุตสาหกรรมเคมีทั่วไป โดยออกให้กับ บริษัท โกลเด้น ไลม์ เอ็นจิเนียริ่ง จากัด บริษัทย่อย ตามทะเบียนเลขที่ บ71433 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2560
คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้ง นายกีซา เอมิล เพอราคี ดารงตาแหน่งกรรมการผู้จัดการ
ย้ายที่ตั้งสานักงานใหญ่ไปที่ทาการแห่งใหม่ เลขที่ 89 อาคารคอสโม ออฟฟิต พาร์ค ชั้น 6 ยูนิตเอช
ถนนป๊อบปูล่า ตาบลบ้านใหม่ อาเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ซึ่งมีผลตามระบบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในวันที่ 1 ธันวาคม 2560
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 บริษัทได้เข้าทำรายการการได้มาซื่งสินทรัพย์สำคัญในหุ้นของบริษัท สระบุรีปูนขาว จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายปูนขาวในประเทศ
โดยมีหุ้นสามัญซึ่งได้ชำระเต็มมูลค่าแล้วจำนวน 48,500 หุ้น ได้ชำระค่าตอบแทนให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งมิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัทจำนวนทั้งสิ้น 320 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561 กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้อนุมัติใบอนุญาติประกอบกิจการโรงงานสาขาห้วยป่าหวายให้มีผลเริ่มประกอบกิจการโรงงาน ได้เสร็จสิ้นการทดสอบและเดินการผลิตเตาที่ 7
วันที่ 15 พฤษภาคม 2561 คณะกรรมการได้อนุมัติการการรวมผังองค์กรระหว่างบริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ได้แก่ บริษัท สระบุรีปูนขาว จำกัด
โดยแต่งตั้งผู้บริหารเพื่อบริหารงานตามแผนการควบรวมกิจการ
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2561 บริษัทได้รับการรับรองความสามารถทางนวัตกรรมและองค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization) จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามโครงการส่งเสริมความสามารถทางนวัตกรรมกรรมสำหรับผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
วันที่ 14 พฤษภาคม 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3/2562 ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าลงนามบันทึกข้อตกลง
สำหรับผู้รับเหมาซึ่งเป็นผู้ส่งข้อเสนอเชิงพาณิชย์ที่ดีที่สุดสำหรับโครงการ Solar Farm ขนาด 2 MW โดยมีที่ตั้ง
โครงการสำหรับผลิต Solar Farm ณ ที่ทำการสาขาแห่งที่ 2 ที่ตำบลช่องสาริกาเพื่อทำการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับ
ใช้ในกระบวนการผลิต โดยโครงการดังกล่าวได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจากส านักงานส่งเสริมการลงทุน
ตามหนังสือแจ้งมติที่ นร. 1305/004859ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 โดยมีบัตรส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับอนุมัติ
เลขที่ 62-1008-1-04-1-0 ลงวันที่ 12 กันยายน 2562 และได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน จากกรม
โรงงานอุตสาสหกรรม โดยอนุญาตให้ประกอบกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งอยู่โฉนดที่ดิน
เลขที่ 1285 หมู่ที่ 12 ต าบลช่องสาริกา อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี หนังสือแจ้งรับใบอนุญาตลงวันที่ 30มกราคม 2563
วันที่ 14 พฤษภาคม 2562 ที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 3/2562 มีมติให้เสนอที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น โดยที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562 ได้มีมติอนุมัติแผนปรับโครงสร้างธุรกิจด้วยวิธีการโอน กิจการทั้งหมดของบริษัท สระบุรีปูนขาว จ ากัด ไปยังบริษัท ทั้งนี้บริษัท เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท สระบุรีปูนขาว จ ากัด โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 99.99 ของหุ้นทั้งหมด โดยบริษัทได้แต่งตั้งให้ปรึกษากฎหมายและภาษีจากบริษัท สำนักภาษี เคพีเอ็มจี ภูมิไชย จำกัด เป็นที่ปรึกษาเพื่อด าเนินการส าหรับเรื่องดังกล่าวจนขั้นตอนแล้วเสร็จ
วันที่ 1 ตุลาคม 2562 บริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มสาขาที่4ซึ่งเป็นที่อยู่เดียวกับบริษัท สระบุรีปูนขาว จำกัด เพื่อรองรับ การโอนกิจการทั้งหมด
1 ธันวาคม 2562 บริษัท สระบุรีปูนขาว จำกัด ได้โอนกิจการทั้งหมดไปยังบริษัท และมีการโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงใบอนุญาตในการดำเนินการทั้งหมดและกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สินทรัพย์อื่นๆได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร, ลูกหนี้การค้า และสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ๆ ทั้งหมดตลอดจนภาระหนี้สิ้นที่มีกับเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ให้กับ บริษัท ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการ
วันที่ 17 ธันวาคม 2562 บริษัท สระบุรีปูนขาว จำกัด ภายหลังการโอนกิจการได้ดำเนินการจดทะเบียนเลิกกิจการกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและอยู่ในระหว่างช าระบัญชีและจะดำเนินการช าระคืนทุนให้กับบริษัทซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นภายหลังเมื่อการตรวจสอบการโอนกิจการทั้งหมดและการเลิกกิจการกับกรมสรรพากรสิ้นสุดลง
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 บริษัทได้รับหนังสือมติอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน เพื่อขยายกิจการแคลเซียมออกไซด์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อใช้พลังงานทดแทน โดยการติดตั้งแผง พลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1.0 MW เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้ในกระบวนการผลิตที่สาขาพระพุทธบาท
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 บริษัทได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนตามบัตรส่งเสริมที่ 62-1008-1-04-1-0 ลงวันที่ 12 กันยายน 2562 เพิ่มการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์จากเดิม 2 MW เป็นสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 2.5 MW เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อการผลิตสาขาช่องสาริกา
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 บริษัทได้เข้าทำรายการการได้มาซึ่งสินทรัพย์สำคัญในหุ้นของบริษัท หินอ่อน จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายหินอ่อนและผลพลอยได้จากผลิตภัณฑ์หินอ่อน โดยมีประทานบัตรเหมืองหินอ่อน และเหมืองหินปูนและมีกิจการให้เช่าช่วงเหมืองหินปูน โดยรายการดังกล่าวมีหุ้นสามัญซึ่งได้ชำระเต็มมูลค่าแล้ว จำนวน 3,305,126 หุ้น ได้ชำระค่าตอบแทนให้แก่ผู้ขาย คือกระทรวงการคลัง และบริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมและมิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัทจำนวนทั้งสิ้น 605 ล้านบาท
บริษัทได้ยุติกระบวนการผลิตที่ โรงงานสาขาที่ 1 ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าพระลาน โดยได้รับอนุญาตให้ยุติการประกอบ กิจการตามใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่ 10190200225354 ชั่วคราว เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2563 โดยมี การย้ายเครื่องจักรไปติดตั้งยังสาขาการผลิตอื่นๆ โดยเป็นการจัดเครือข่ายการผลิตตามหลักเหตุผล (Network Rationalization) เพื่อลดภาระรายจ่ายในการบริหารจัดการ, ค่าขนส่งวัตถุดิบ และอื่น ๆ ในระยะยาว โดยการยุติ กระบวนการผลิตดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตตามความต้องการของลูกค้า
วันที่ 19 มิถุนายน 2563 ได้รับแจ้งการอนุมัติในการออกประกอบกิจการโรงงานเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงาน แสงอาทิตย์ ขนาดกำลังการผลิต 1,999.80 กิโลวัตต์ ตั้งอยู่ที่ดินโฉนดเลขที่ 1285 ตามใบอนุญาต ร.ง.4 ทะเบียน โรงงาน 40160036125635 ที่ (กกพ.) 02-8/2563 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 จากกระทรวงอุตสาหกรรม
รับอนุญาติประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจากคณะกรรมการกิจการพลังงาน เลขที่ กกพ.01-1(1)/63-946 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2563
รับอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ที่ กกพ.(พค.2)-262/2563 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2563,
รับอนุญาตจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคตามหนังสือที่ มท 5304.12/50556 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ให้ต่อขนาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
วันที่ 14 สิงหาคม 2563 บริษัทได้เข้าทำรายการเกี่ยวโยงมีขนาดการทำรายการขนาดกลาง โดยเป็นการจัดซื้อ เครื่องจักร อุปกรณ์ และลิขสิทธิ์ โดยเทคโนโลยีการผลิตในระบบ CAVA ถือเป็นการพัฒนาการผลิตที่สำคัญและเป็น ประโยชน์ต่อบริษัทเพื่อให้บริษัทสามารถผลิตปูนขาวเกรดพิเศษที่จะขายให้กับลูกค้ารายใหม่และช่วยเพิ่มปริมาณ การขายและส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับบริษัท
วันที่ 11 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4/2564 ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าทำรายการเกี่ยวโยงโครงการโซ่ล่าฟาร์มที่ช่องสาริกาส่วนที่ขยายกำลังการผลิต 0.5 เมกะวัตต์ โดยเป็นโครงการลงทุนซึ่งบริษัทได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนตามบัตรส่งเสริมที่ 62-1008-1-04-1-0 ลงวันที่ 12 กันยายน 2562 เพิ่มการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์จากเดิม 2 MW เป็นสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 2.5 MW
วันที่ 17 สิงหาคม 2564 บริษัทได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อแสดงว่าบริษัท มีการการนำแนวทางในการปฏิบัติด้านการใช้แรงงานที่ดี ( Good Labour Practice : GLP ) ไปใช้ในการบริหารกิจการ
วันที่ 29 กันยายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้อนุมัติให้เพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์โดยไม่มีการลงทุนเพิ่มสำหรับบัตรส่งเสริมการลงทุนเลขที่ 64-0133-1-04-1-0 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 โดยให้การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทั้งประเภทแคลเซียมออกไซด์ (Calcium Oxide) และแคลเซียมแมกนีเซียมออกไซด์ (Calcium Magnesium Oxide) รวมกำลังการผลิตทั้ง 2 ประเภทผลิตภัณฑ์ จำนวน 151,500 ตัน ทั้งนี้ให้เริ่มใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบัตรส่งเสริมดังกล่าวสำหรับผลิตภัณฑ์แคลเซียมออกไซด์และแคลเซียมแมกนีเซียมออกไซด์ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2564
วันที่ 13 ธันวาคม 2565 บริษัท สุธากัญจน์จ จำกัด (มหาชน) หรือ SUTHA เข้ารับรางวัลคู่ค้า ประเภท การดำเนินการโดยมีธรรมาภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม ดีเลิศ ประจำปี 2565 จากกลุ่มลูกค้ากลุ่ม POSCO THINOX
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) หรือ SUTHA เข้ารับรางวัล องค์กรต้นแบบความยั่งยืนในตลาดทุนไทยด้านสนับสนุนคนพิการดีเด่น ประจำปี 2565 จัดขึ้น ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมไฮแอท เอราวัณ จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมการจัดหางาน กรมส่งเสริมและพัฒนาชีวิตคนพิการ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) หรือ SUTHA เข้ารับโล่รางวัล โครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2565 โดยเป็นโครงการซึ่งจัดโดยสำนักงานอุตสาหกรรมประจำจังหวัดลพบุรีฯ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดประสิทธิภาพ และเฝ้าระวังการเกิดผลกระทบด้านมลพิษของสถานประกอบการที่มีต่อชุมชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ และส่งเสริมการพัฒนาด้านวิชาการหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม รักษาสมาชิกเครือข่ายอุตสาหกรรมในพื้นที่
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5/2565 ได้มีมติอนุมัติให้กำหนดวันจัดการประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM 1/2023) ในวันที่ 6 มกราคม 2566 โดยวันที่ 28 ธันวาคม 2565 ได้กำหนดอัตราส่วนการเสนอขายสุดท้าย และจำนวนหุ้นที่จะเสนอขาย สำหรับหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ (Rights Offering) เพื่อเสนอที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติม หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท ข้อ 4. (เรื่องทุนจดทะเบียน) เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มทุนจดทะเบียน จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 300,000,000 บาท โดยประกาศข้อมูลสุดท้ายในการเพิ่มทุน ทุนจดทะเบียนใหม่เป็นจำนวน 375,000,000 โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 75,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวมทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 75,000,000 บาท
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5/2565 ได้มีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าทำรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ประเภท การลงทุนในการขยายกำลังการผลิตระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1 เมกกะวัตต์ และการจัดซื้อที่ดินขนาด 5 ไร่ จำนวน 1 แปลง โดยการเข้าทำรายการได้มาซึ่งสินทรัยพ์ดังกล่าว ประกอบด้วย การเข้าทำรายการได้มาซึ่งทรัพย์สิน มีการเข้าทำรายการเกี่ยวโยงสำหรับสัญญาบริการด้านงานวิศวกรรม จัดหา และก่อสร้าง ของโครงการโซล่าฟาร์ม ส่วนที่มีการขยายเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอีก 1 เมกะวัตต์ที่สาขาช่องสาริกา (เฟส 3) ซึ่งมีรายการขนาดกลางซึ่งได้จัดทำสารสนเทศการทำรายการเกี่ยวโยงรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565
วันที่ 18 สิงหาคม 2565 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลุ่ม โดยบริษัท สระบุรีปูนขาว จำกัด บริษัท ย่อยมีการชำระบัญชีแล้วเสร็จ โดยจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจกระทรวงพาณิชย์ในดำเนินการชำระบัญชีแล้วเสร็จ และปิดกิจการบริษัทย่อย บริษัท สระบุรีปูนขาว จำกัด โดยชำระคืนทุนแล้วเสร็จ (สำหรับที่ดินและโรงงานซึ่งเป็นทรัพย์สินหลักในบริษัท สระบุรีปูนขาว จำกัด ดังกล่าว มีการโอนกิจการไปเป็นสาขา 4 สาขาพระพุทธบาทตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2562 และประกอบการภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน))
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 บริษัทได้รับใบรับรองการขึ้นทะเบียนและได้รับการรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทยแบบมาตรฐาน (Standard T-VER) 1,543 tCO2eq/year ระยะเวลาเครดิตของโครงการ 1 มกราคม 2566 - 31 ธันวาคม 2572
(โดยโครงการนี้ไม่สามารถใช้กับปริมาณการชดเชยของบริษัท เนื่องจากเป็นโครงการในส่วนที่บริษัทได้ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในขอบเขต 2 จากปริมาณการซื้อกระแสไฟฟ้าที่ลดลง สำหรับปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองนี้จะสามารถใช้ในการขายคาร์บอนเครดิตให้กับผู้ที่ต้องการซื้อเพื่อใช้ชดเชยในกระบวนการในอนาคต โดยต้องมีกระบวนการซึ่งต้องดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดบัญชีสำหรับทำการซื้อขายรวมถึงการตรวจสอบเพื่อรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตตามโครงการที่ได้ขึ้นทะเบียนในแต่ละปีด้วย)
เดือน พฤศจิกายน 2566 บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด ได้รับผลจากการเข้าร่วมโครงการหุ้นยั่งยืน (THSI) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น SET ESG Rating โดยได้รับการจัดลำดับการดำเนินการตามกรอบการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในลำดับ A ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการประกอบธุรกิจตามแนวทางด้านความยั่งยืน
พฤศจิกายน 2566 บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด ได้รับผลคะแนนจากการประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามโครงการสำรวจผลการกำกับดูแลกิจการ ในระดับ ดีเลิศ ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 (2563-2566)
20 กันยายน 2566 รับโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินที่จัดซื้อ 5 ไร่ สำหรับโครงการผลิตโซล่าฟาร์ม ส่วนขยาย รวมกับที่ดินที่มีอยู่ของบริษัท 5 ไร่ รวมที่ดินเนื้อที่รวม 10 ไร่ เพื่อใช้เป็นที่ตั้ง โครงการในการติดตั้งระบบการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์สำหรับโครงการโซล่าฟาร์ม ส่วนขยาย
มีนาคม 2566 ได้รับผลการประเมินการจัดลำดับคู่ค้าที่ดี โดยมีการประเมินระดับ ดีเลิศ ติดต่อกันเป็นปีที่ 2
เดือน มีนาคม 2566 ได้รับเกียรติบัตรจาก Ecovadis ผู้ให้บริการจัดอันดับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) แบบองค์รวมครอบคลุมระบบบริหารจัดการในวงกว้างซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับด้านการเงิน และรวมไปถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม แรงงานและสิทธิมนุษยชน จรรยาบรรณ และหลักปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน โดยการลำดับประเมินผลจากผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในปี 2565 โดยได้รับผลการประเมินในลำดับ SILVER
เดือน ธันวาคม 2566 ได้รับเกียรติบัตรจาก Ecovadis โดยการลำดับประเมินผลจากผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในปี 2566 โดยได้รับผลการประเมินในลำดับ GOLD
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่ได้รับชำระจากการออกและเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยไม่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นที่ทำให้บริษัทฯ มีหน้าที่ตามกฎหมายต่างประเทศ โดยการออกหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวน 75,000,000 หุ้น ที่ราคา 4 บาทต่อหุ้น ในอัตราส่วนที่เสนอขาย 4 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่ โดยมีระยะเวลาจองซื้อและการชำระค่าจองซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 (รวมทั้งสิ้น 5 วันทำการ) และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการจองซื้อมี จำนวนหุ้นที่มีการจองซื้อและชำระค่าหุ้นทั้งสิ้น รวมทั้งสิ้น 62,393,057 หุ้น ส่งผลให้บริษัทฯ มีทุนชำระแล้ว เป็นเงิน 362,393,057 แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 362,393,057 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ 1 บาท
วันที่ 6 มกราคม 2566 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 300,000,000 บาท เป็น ทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 375,000,000 บาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 75,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวมทั้งสิ้น 75,000,000 บาท ได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนของบริษัท และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทฯ ข้อ 4. ตามรายละเอียดข้างต้นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรที่สำคัญ
การปรับเพิ่มหน่วยงานวิศวกรและโครงการ
จากการบริหารจัดการด้านงบประมาณรายจ่ายในส่วนบริษัทย่อยได้แก่ บริษัท โกล้เด้นไลม์
เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด_GLE ซึ่งปัจจุบันโครงสร้างงานส่วนใหญ่เป็นโครงการในส่วนของบริษัท
และบริษัทย่อย
เพื่อเป็นบริหารรายรับและรายจ่ายตามแผนจัดการความเสี่ยงและการบริหารจัดการงบประมาณให้ได้ประสิทธิภาพ
ได้มีการปรับโครงสร้างสายงานของบริษัทโดยมีการเพิ่มหน่วยงานวิศวกรและโครงการ
และย้ายบุคคลากรในตำแหน่งวิศวกรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจาก GLE
เพื่อรับผิดชอบดูแลส่วนงานวิศวกรและโครงการของบริษัท
โดยสายงานที่ตั้งขึ้นใหม่จะรายงานตรงต่อรองกรรมการผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติ
โดยสายงานดังกล่าวจะรับผิดชอบงานด้านโครงการลงทุน งานด้านการปรับปรุงกระบวนการ
และวิศวกรรมต่าง ๆ ของโครงการลงทุนที่สำคัญโดยมีผลตั้งแต่ 1 กันยายน 2567
การปรับสายงานบังคับบัญชาในฝ่ายงานทรัพยากรบุคคล
เดิมสายงานทรัพยากรบุคคลมีสายบังคับบัญชาในการรายงานตรงต่อรองกรรมการผู้จัดการภายหลังการสรรหาบุคลากรรองรับแผนสืบทอดตำแหน่งที่สำคัญเพื่อดูแลการพัฒนาและแผนงานด้านทรัพยากรและจากการสรรหาบุคลากรใหม่ที่เข้าดำรงตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสฝ่ายงานทรัพยากรบุคคล
ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการรายงานตรงต่อกรรมการผู้จัดการ
และผู้จัดการอาวุโสฝ่ายงานทรัพยากรบุคคลซึ่งจะเกษียรอายุในปี 2568
ให้รายงานตรงต่อผู้บริหารอาวุโสฝ่ายทรัพยากรบุคคล โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567
การเปลี่ยนผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน
เดิมผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบัญชีและการเงิน
เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงินได้ปรับเปลี่ยนจากการรายงานตรงต่อกรรมการผู้จัดการโดยขึ้นตรงต่อผู้บริหารอาวุโส
ฝ่ายบัญชีและการเงินซึ่งปรับเลื่อนจากผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์และควบคุมการเงิน
มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567
สำหรับแผนรองรับการปรับเปลี่ยนตามแผนการสืบทอดตำแหน่งงานที่สำคัญที่ได้มีการเตรียมความพร้อมจากแผนการเกษียรของบุคลากร
พัฒนาในลักษณะการประกอบธุรกิจ
ด้านเศรษฐกิจและธรรมาภิบาล
1. ความหลากหลายและความมั่นคง : มุ่งสร้างความหลากหลายและความมั่นคงทางวัตถุดิบ
ผลักดันยอดขาย
และสร้างกำไรจากการดำเนินงาน เพื่อยกระดับกำไรสุทธิ
SUTHA
และกลุ่มบริษัทสามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายของการมีแหล่งทรัพยากรที่มั่นคงสำหรับกระบวนการผลิต
และได้รับอนุญาตทำการผลิตหินปูนจากประทานบัตรเหมืองหินปูนจากแหล่งเขาขาว
จังหวัดสระบุรีสำหรับเป็นวัตถุดิบป้อนกระบวนการเตาเผาของ SUTHA
ซึ่งประทานบัตรดังกล่าวออกให้กับ บริษัท หินอ่อน จำกัด (บริษัทย่อย) ซึ่งเป็นกิจการที่
SUTHA ได้มาจากเข้าลงทุนในการซื้อหุ้นสามัญจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมในปี 2563
และสามารถต่ออายุประทานบัตรที่ครบกำหนดอายุในเดือน ตุลาคม 2566
เสร็จสิ้นโดยเริ่มอายุประทานบัตรอนุญาตการขยายระยะเวลาออกไปเริ่มจาก ตุลาคม 2566
ไปอีกเป็นระยะเวลา 20 ปี และถือฐานรากที่เสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อให้
SUTHA มีระยะยืนหยัดเพื่อที่จะก้าวต่อไปสู่สิ่งที่ท้าทาย
เพื่อมองหาโอกาสในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนในการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนสู่กิจการและผู้มีส่วนได้เสีย
การจัดหาแหล่งจัดซื้อจัดหาเชื้อเพลิง
สำหรับกระบวนการผลิตจากผู้จำหน่ายที่มีความน่าเชื่อถือ
โดยเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติในการให้ความร้อนสูง
และสามารถจัดซื้อจัดหาในปริมาณที่เพียงพอต่อแผนการจัดเก็บตามปริมาณสถานที่จัดเก็บสินค้าคงคลัง
และเพียงพอต่อความต้องการใช้
การผลักดันยอดขาย
จากผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้พัฒนาสามารถบรรเทาผลกระทบเพื่อคงรักษาฐานรายรับ
แต่ยังไม่สามารถผลักดันขยายผลจากแรงต้านทานจากภาวะการแข่งขันโดยรวม
ผลกระทบจากภาวะการแข่งขันจากกลยุทธ์ราคา
และการควบคุมความต่อเนื่องด้านคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความต้องการซึ่งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงผลกระทบจากความต้องการผลิตภัณฑ์ในกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมเหล็กที่มีปริมาณลดลงจากภาวะการณ์แข่งขันจากผลิตภัณฑ์ทดแทนที่นำเข้าจากประเทศจีนยังคงต้องมีพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพื่อลดบรรเทาและฟื้นคืนฐานสำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มเหล็กให้กลับมาและขยายผลในการเติบโต
2. ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม : มุ่งเป็นผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายปูนขาว
แคลเซียมคาร์บอเนตผง และผลิตภัณฑ์จากหินอ่อน
ด้วยการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการอย่างมีความรับผิดชอบ
แผนการลงทุนขยายกำลังการผลิตปูนขาว: จากภาวะความต้องการผลิตภัณฑ์ปูนขาวในปี 2567
ที่ปริมาณความต้องการสินค้าไม่สอดรับกับกำลังการผลิตโดยรวม
ส่งผลให้โครงการลงทุนในการขยายกำลังการผลิตปูนขาวและแผนลงทุนก่อสร้างเตาเผาปูนขาวเตาที่
8 หยุดดำเนินการโดยชลอการพิจารณาในการลงทุนยืดออกไปเพื่อประเมินสถานการณ์ภาพรวมของตลาด
ปริมาณความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงจากภาวการณ์ที่คาดการณ์ไว้
ประกอบกับการพิจารณาทางเลือกอื่นจากเข้าซื้อกิจการหรือการเข้าซื้อสินทรัพย์เตาเผาปูนขาวจากผู้ผลิตรายอื่นที่เสนอขายและเป็นอีกหนึ่งทางเลือก
ตามโครงการขยายกำลังการผลิตที่จะเป็นไปได้ โดยการศึกษาขอบเขตความเป็นไปได้เงินลงทุน
การประเมินปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งภาพรวมโดยสรุปยังไม่สามารถดำเนินการได้ภายในปีนี้
แผนการลงทุนขยายกำลังการผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตผง:
เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายในการความเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์แคลเซียมผง_GCC
ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของ บจ.หินอ่อนซึ่งเป็นบริษัทย่อย ในปี 2567
โครงการลงทุนขยายกำลังการผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตผล (GCC Project)
ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารและคณะกรรมการเพื่อการขยายกำลังการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์
GCC จากเดิมมีกำลังการผลิต 60,000 ตัน
โดยมีการลงทุนในการติดตั้งเครื่องจักรและกระบวนการต่าง ๆ
เพิ่มเพื่อขยายกำลังการผลิตรองรับปริมาณการผลิตสูงสุด 120,000 ตัน
ซึ่งคาดว่าการดำเนินการจะสามารถแล้วเสร็จและให้ผลผลิตได้ภายในปี 2568
ซึ่งโครงการดังกล่าวจะควบคุมและติดตามการดำเนินการออกแบบ การจัดหาเครื่องจักร
และควบคุมงบประมาณการลงทุน โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมโดยประมาณ 48 ล้านบาท
ซึ่งฝ่ายงานวิศวกรและโครงการ หรือส่วนวิศวกรรมของ GLE
จะรับผิดชอบสำหรับการออกแบบวางแผนผังกระบวนการ การจัดหาผู้ผลิตเครื่องจักร
และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน รวมถึงกระบวนการติดตั้งเครื่องจักร
โดยมีการสั่งซื้อเครื่องจักรหลักจากต่างประเทศ

3. นวัตกรรมและเทคโนโลยี: พัฒนากระบวนการและผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอิฐมวลเบา
การพัฒนาในการปรับแต่งเพื่อใช้เตาเผาปูนขาวประเภท Two Vertical Shaft Kiln 150TPD
เพื่อใช้ในการผลิตปูนขาวสำหรับอุตสาหกรรมอิฐมวลเบา โดยโครงการ highly performance mill
lime
ถือเป็นโครงการหนึ่งในการปรับใช้เทคโนโลยีการผลิตที่บริษัทได้เข้าทำสัญญาในการจัดซื้อจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์จากกลุ่ม
Carmeuse ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นทางอ้อม ผ่านการเข้าทำสัญญาในการรักษาความลับด้าน Knowhow
และลิขสิทธิ์ โดยโครงการ highly performance mill lime
ถือเป็นโครงการพัฒนากระบวนการผลิตที่สามารถปรับนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงกระบวนการในการผลิตสินค้าให้มีคุณสมบัติสำหรับการใช้งานกับอุตสาหกรรมอิฐมวลเบา
และเป็นการใช้เทคโนโลยีการผลิต และเป็นนวัตกรรม กระบวนผลิตครั้งแรกในประเทศไทย
นวัตกรรมและวิศวกรรมการออกแบบ EOD Lime Kiln
โดยเป็นการพัฒนาด้านวิศวกรรมการออกแบบระบบเผาปูนขาว Parallel Flow Regenerative (PFR)
Technology EODTM กำลังการผลิตขนาด 150 TPD
เพื่อเป้าหมายในการจัดการทรัพยากร
และการจัดการพลังงานเพื่อให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากร และพลังงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด
โดยพัฒนาศักยภาพและการต่อยอด Technology Parallel Flow Regenerative (PFR)
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเครื่องจักรเตาเผาปูนขาวแนวตั้ง 2 ปล่อง
ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวได้ออกแบบระบบการให้ความร้อนภายในกระบวนการเผาปูนขาว
โดยแบ่งช่วงในการเผาไหม้ออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่
(A) ช่วงโซนทำความร้อนปูนก่อนกระบวนการเผา (Preheating Zone)
(B) ช่วงโซนการเผาไหม้ (Burning Zone)
(C) ช่วงโซนการทำความเย็นเพื่อระบายร้อนของปูนขาวที่เผาสุกก่อนออกจากเตา (Cooling Zone)
โดยเทคโนโลยี PFR
เป็นการใช้หลักการในการใช้หมุนเวียนนำความร้อนส่วนเกินที่เหลือได้จากก๊าซส่วนที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ในการเผาไหม้
(Waste Gas) จากปล่องที่กำลังเผาไหม้ หมุนวนกลับไปใช้ยังปล่องที่เตรียมการเผาใน
Preheating Zone โดยนำพลังงานส่วนเกินและการใช้พลังงานความร้อนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยการพัฒนาด้านวิศวกรรมการออกแบบดังกล่าวสอดคล้องตามเป้าหมายและกลยุทธ์ด้านการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาต่อยอดสร้างเป็นนวัตกรรมการผลิตภัณฑ์เพื่อสังคม
ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งเสริมต่อการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ EOD
Lime จากสัญญา Purchase Agreement Kiln ตามโครงการ Kurnia 2 โดยบริษัท โกลเด้น ไลม์
เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (บริษัทย่อย) ได้จัดส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามสัญญาครบถ้วน
และลูกค้าได้ทำการติดตั้งใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ หลังจากมีการหยุดชลอโครงการนานกว่า 2 ปี
ซึ่งผลความคืบหน้าในการตรวจสอบกระบวนการโครงการ Kurnia 2
ทำการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยมีความคืบหน้า 90%
และคงค้างส่วนงานที่รอกระบวนการ Commissioning อีก 10% ซึ่ง โครงการ Kurnia 2
เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเตาเผาปูนขาวของไทยและเป็นแบรนด์ EOD Lime Kiln
ลำดับที่ 4
สำหรับกำหนดที่คาดว่าโครงการจะเสร็จสมบูรณ์สามาถเดินเครื่องจักรเพื่อการผลิตภายในไตรมาส
2 ปี 2568

4. ประสิทธิภาพและความพึงพอใจของลูกค้า:
ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพทั้งกระบวนการผลิตของบริษัทและของลูกค้า
เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยการผลิตสินค้าที่ตรงต่อความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรม
และให้คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมในราคาที่แข่งขันได้
ในปี 2567 มีการพัฒนาด้านกระบวนการผลิตสินค้าไฮเดรตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
โดยการลงทุนโครงการ Replace hydrated lime Classifier มูลค่า รวม 5.5 ล้านบาท
เพื่อพัฒนากระบวนการในการผลิตสินค้าไฮเดรต
ให้มีคุณสมบัติด้านขนาดและความละเอียดตามที่ลูกค้าต้องการ
โดยพิจารณาความสำคัญและความจำเป็นในการลงทุนในการตอบสนองต่อเป้าหมายและกลยุทธ์การมุ่งเน้นลูกค้า
สำหรับโครงการลงทุนในเครื่องจักรหลักตามโครงการจะมีการติดตั้งเครื่อง Classifier
สำหรับปรับขนาดของปูนไฮเดรตให้มีความละเอียดมากขึ้น โครงการใช้ระยะเวลาดำเนินการ 120 วัน
ดำเนินการโดยฝ่ายงานวิศวกรและโครงการ หรือส่วนวิศวกรรมของ GLE ซึ่งแล้วเสร็จภายในปี 2567

โดยระหว่างปี 2567 มีการพัฒนากระบวนการในการผลิตปูนขาวสำหรับกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมอิฐมวลเบา
โดยการลงทุนในการปรับแต่งกระบวนการผลิตสำหรับการผลิตปูนเกรดจัดส่งในอุตสาหกรรมอิฐมวลเบา
โดยมีมูลค่าการลงทุนโดยประมาณ 5.5 ล้านบาท สำหรับโครงการลงทุนนี้ SUTHA
ได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณภาพปูนเกรด Mill Lime AAC
ให้ได้คุณสมบัติตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มผลิตอิฐมวลเบา
เพื่อให้สินค้าปูนขาวสำหรับใช้ในการผลิตในอุตสาหกรรมอิฐมวลเบาตอบสนองต่อความต้องการมากขึ้น
โดยระยะเวลาดำเนินการตามโครงการ จำนวน 90 วัน
โดยมีการติดตามควบคุมดำเนินการทั้งด้านการออกแบบ จัดหาเครื่องจักร
และการติดตั้งเครื่องจักรโดยทีมวิศวกร และโครงการ หรือส่วนวิศวกรรมของ GLE

5. การเติบโตอย่างยั่งยืน: รักษาการเติบโตทางธุรกิจให้มีความสามารถในการทำกำไรได้ในระยะยาว
เพื่อสร้างผลตอบแทนต่อผู้มีส่วนได้เสีย
ในปี 2567
เป้าหมายการเติบและสร้างผลกำไรระยะยาวยังไม่เห็นผลแสดงแนวโน้มการเติบโตเชิงเศรษฐกิจ
จากตัวชี้วัดด้านการเงินเนื่องด้วยการแข่งขันในธุรกิจที่มีค่อนข้างสูง
รวมถึงสภาวะอันเกิดจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงความต้องการจากกลุ่มลูกค้าและการแข่งขันด้านราคาคงส่งผลให้การบรรลุสู่เป้าหมายการเพิ่มขึ้นของฐานรายรับยังไม่เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์
อย่างไรก็ตามด้วยปัจจัยและผลกระทบต่าง ๆ
รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงและการพัฒนาในด้านต่าง ๆ
บริษัทยังคงความสามารถเพื่อการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบ เผชิญความท้าทาย
และคงความสามารถในการแข่งขัน การรักษาฐานทางการตลาด ฐานรายรับที่มั่นคง
รวมถึงความสามารถในการทำกำไรที่มีแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้น จากการบริหารจัดการต้นทุน
และการจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงและบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่ได้ประสิทธิภาพ
ด้านการพัฒนากระบวนการและมาตรฐานดำเนินการตามกรอบความยั่งยืน
จากเป้าหมายในการพัฒนาระบบและกระบวนการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดรับการพัฒนาด้านความยั่งยืนโดยมีมาตรฐานและกระบวนการที่ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียผ่านตัวชี้วัดในการเข้าร่วมประเมินผลและจัดลำดับด้านความยั่งยืน
ESG Rating ซึ่งผลประเมินในปี 2567 ปรับระดับเป็น AA ซึ่งพัฒนาจากระดับ A
ในปีก่อน


6. การกำกับดูแลกิจการที่ดี:
สร้างและบูรณาการการกำกับดูแลกิจการที่ดีในทุกบริษัทภายใต้การบริหารจัดการ
โดยมีระบบและกระบวนการควบคุมภายในที่แข็งแกร่ง
และการบริหารความเสี่ยงที่สามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
ด้วยผลประเมินผ่านโครงการ CGR Score ปี 2567
มีคะแนนและผลประเมินในระดับสูงสุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ผ่านตัวชี้วัด
การประเมินผลด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ภายใต้เจตนารมย์และความมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาและการปรับปรุงทุกจุดดำเนินการโดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุตามเจตนารมย์การกำกับดูแลกิจการที่ดี
มีการบริหารจัดการอย่างโปร่งใสภายใต้การผู้นำ จริยาธรรมทางธุรกิจ และบรรษัทภิบาล

ด้านสังคม
1. ความปลอดภัยและสุขภาพ: ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัย สุขภาพ
และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งในสถานประกอบการ ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสีย
บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายในการลดอุบัติเหตุในส่วนการจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับพนักงานให้เป็นศูนย์
แต่ในขณะเดียวกันเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานในส่วนของผู้รับเหมาของบริษัท
แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินการในการปลูกพฤติกรรมในการตระหนักด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานถือว่าในปี
2567 สามารถบรรลุเป้าหมาย
2. โอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียม: ส่งเสริมโอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียม
การจ้างงานบุคลากรท้องถิ่น ความเสมอภาค และการดำเนินการภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน
3. การศึกษาและพัฒนาทักษะ: ส่งเสริมโอกาสด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะ
เพื่อยกระดับคุณภาพและศักยภาพของบุคลากรในการพัฒนาองค์กร
4. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย: พัฒนาการมีส่วนร่วมและความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย
เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร ธุรกิจ และสังคมอย่างยั่งยืนภายใต้แคมเปญ 4
พฤติกรรมหลักองค์กร ( 4 Behaviors )
ได้พัฒนาให้เกิดการเข้ามีส่วนในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ
ผ่านการสร้างสรรค์และระดมความคิดเห็นอย่างจริงใจ การมีส่วนร่วม
ความรู้สึกในการความเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกันเพื่อผันผ่าอุปสรรคและรับผิดชอบงานในหน้าที่โดยใช้
Passion และอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์
ความเชี่ยวชาญมุ่งเสริมให้เกิดคุณค่าภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบของตนเพื่อให้ธุรกิจขององค์กรสามารถส่งต่อคุณค่าเพื่อลูกค้า
ผู้มีส่วนได้เสีย อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ด้านสิ่งแวดล้อม
1. การจัดการสิ่งแวดล้อม: จัดการกระบวนการเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
รวมถึงการดำเนินการในการกำหนดมาตรการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผลกระทบและความเสี่ยงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกี่ยวข้อง การจัดการขยะของเสีย
ลดปริมาณเศษซาก หรือวัสดุที่ต้องฝังกลบ
และวัสุดที่ไม่ใช้แล้วจากกระบวนการให้เหลือน้อยที่สุด
2. การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ:
จัดการความหลากหลายทางชีวภาพและผลกระทบจากกระบวนการดำเนินธุรกิจที่มีต่อนิเวศบริการ
ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติ
3. กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
และการใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
การส่งเสริมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน และการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในปี 2567
จากแรงผลักดันภายใต้การขับเคลื่อนในการกำกับดูแลกิจการเพื่อดำเนินการและพัฒนากระบวนการตามกรอบความยั่งยืน
การจัดการและบริหารความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์
และภาวะการแข่งขันในตลาด รวมถึงการผลักดันโครงการ Cost Saving
เพื่อบริหารจัดการในการลดต้นทุนการผลิต รวมถึงการหากลุ่มลูกค้าทดแทน
ปริมาณที่ต้องสูญเสียจากอุปสงค์ และผลกระทบจากของอุตสาหกรรมที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม
การตอบรับสู่ผลสำเร็จในการร่วมบริหารจัดการห่วงโซ่ธุรกิจด้วยการส่งมอบคุณค่าสู่ผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญด้วยรางวัลแห่งความเชื่อมั่นเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยรางวัล
Sustainability Award ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการปรับแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืน
ขณะเดียวกันก็สร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในหมู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา
