การบริหารทรัพยากรน้ำ

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต และส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและการมีส่วนรวมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้เสียได้ร่วมมีส่วนในการจัดการน้ำครอบคลุมตั้งแต่การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ การใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การลดปริมาณการใช้น้ำและการนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์อย่างสอดคล้องตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ได้วางกรอบแนวทางจัดการทรัพยากรน้ำให้มั่นคง เพื่อมีแหล่งน้ำและทรัพยากรกรน้ำรองรับและเพียงพอต่อการใช้สอยสำหรับกระบวนการผลิตและการอุปโภคเพื่อความเชื่อมั่นว่าธุรกิจของบริษัทจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิการใช้น้ำของชุมชน อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับกฎหมายและแนวทางการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย รวมถึงการร่วมขับเคลื่อนกับชุมชนสังคมในมีส่วนดำเนินการเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

 

โดยกรอบการทำงานเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำ ใน 4 กรอบหลัก ประกอบด้วย

1. การกำกับดูแล (Governance)

กำหนดให้การบริหารจัดการน้ำ เป็นส่วนหนึ่งที่เพื่อให้คณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อการพัฒนาความยั่งยืนดูแลกำกับและกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบเพื่อการขับเคลื่อนผลักดันให้มีการดำเนินการเพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ โดยกำหนดยุทธ์ศาสตร์ระยะยาว 10 ปี โดยวางเป้าหมายการลดปริมาณการใช้น้ำ และสร้างเสถียรภาพอย่างมั่นคงในการมีทรัพยากรน้ำสำหรับการผลิตและการบริโภค รวมไปถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสเกิดการขาดแคลนทรัพยากรน้ำอันเนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2. การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน (Water Stewardship)

กำหนดให้มีการบริหารจัดการ การใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในกระบวนการผลิต การนำน้ำหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ รวมถึงสร้างความร่วมมือตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาส่งเสริม หรือการมีส่วนเพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดการพัฒนาแหล่งเพื่อให้มีทรัพยากรน้ำที่สามารถน้ำไปใช้ได้อย่างต่อเนื่อง การหาวิธีเพื่อลดปริมาณการใช้ทรัพยากรน้ำ การนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการจัดการน้ำ และการบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการมีส่วนขับเคลื่อนและส่วนจัดการให้มีน้ำสะอาดเพื่อสุขอนามัยที่ดีสำหรับทุกคน

3. การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำรวมถึงดำเนินกิจกรรมเพื่อการบริหารจัดการน้ำ

  • การสร้างเครือข่ายร่วมกับภาคีภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม เพื่อร่วมขับเคลื่อนเป็นส่วนหนึ่งเพื่อให้เกิดการพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือรวมผลักดันในการส่วนช่วยให้มีการพัฒนาให้เกิดการบริหารจัดการให้มีแหล่งและทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืน ตลอดจนร่วมอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำ ขับเคลื่อนให้เกิดการบำบัดเพื่อหมุนเวียนนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ การผลิตน้ำสะอาด หรือการสนับสนุนให้มีน้ำสะอาดเพื่อการบริโภค การกักเก็บน้ำจากธรรมชาติเพื่อการใช้สอย เป็นต้น
  • การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อการดำเนินกิจการของบริษัท ครอบคลุมความเสี่ยงด้านปริมาณความเพียงพอของน้ำสำหรับการผลิตและการอุปโภค
  • การวางมาตรการ หรือกระบวนการที่สามารถกักเก็บน้ำจากแหล่งตามธรรมชาติ เช่น การกักเก็บน้ำฝน หรือการเพิ่มแหล่งน้ำจากธรรมชาติ เช่น น้ำจากบ่อบาดาลซึ่งเป็นจากแหล่งใต้ดินที่ได้ใบอนุญาตสำหรับเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำที่ยั่งยืนเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ
  • การติดตามเฝ้าระวังเพื่อกำหนดมาตรการจัดการน้ำก่อนเกิดภัยแล้งและมาตรการเพื่อให้มีการจัดการให้มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับใช้ภายในกระบวนการในระยะยาว ตลอดจนพิจารณาแหล่งน้ำเพื่อกักเก็บน้ำฝน การเตรียมการเพื่อการสำรองน้ำเพื่อลดผลกระทบหากเกิดภาวะภัยแล้ง หรือน้ำจากแหล่งบาดาลที่ใช้อยู่ขาดความสมดุล
  • การดำเนินการบริหารจัดการน้ำตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยความมุ่งมั่นเพื่อลดการใช้น้ำ เพิ่มการใช้น้ำหมุนเวียนนำกลับมาใช้ซ้ำ เพิ่มระบบการส่งน้ำที่ใช้แล้วนำไปกักเก็บในบ่อตกตระกอนด้วยปูนขาวเพื่อหมุนวนน้ำที่ผ่านการตกกระกอนกลับมาใช้ประโยชน์
  • การวางมาตรการป้องกันเพื่อมิให้น้ำจากภายในกระบวนส่วนมีค่าความเป็นด่างสูง ระบายออกสู่ภายนอก

4. กำหนดกรอบขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้

  • เข้าใจน้ำ : โดยทำการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำภายในองค์กร
  • เข้าถึงน้ำ : โดยศึกษาความเป็นไปได้และขอบเขตที่สามารถดำเนินการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ
  • พัฒนาน้ำ : โดยนำข้อมูลที่ผ่านการศึกษาวิเคราะห์ การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม การประสานความร่วมมือ และการมีส่วนรวมมาดำเนินการเพื่อวางกรอบดำเนินการและพัฒนาจัดทำในรูปแบบโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากเอกสารดาวน์โหลด

ดาวน์โหลดเอกสาร

การบริหารทรัพยากรน้ำ

ชื่อไฟล์ : การบริหารทรัพยากรน้ำ
Download