
การดำเนินการด้านสังคมของ SUTHA
บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นพัฒนาการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องตามกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนและได้ปรับใช้แนวทางตามเกณฑ์การประเมินด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และกรอบนโยบายตามความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักเพื่อเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติในการกำหนดทิศทางการพัฒนาขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้เสีย โดย กรอบนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยมีการดำเนินการด้านสังคม ดังนี้
นโยบายดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนและสังคม

S1. การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
หลักการ
ความคาดหวังจากประชาคมโลกให้ธุรกิจดำเนินการโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนโดยกำหนดแนวทางในการลดผลกระทบทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต ความเป็นอยู่ และสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ โดยกำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมและการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ การมีแนวปฏิบัติต่อพนักงาน หรือแรงงานอย่างเป็นธรรม และการมีมาตรการสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ซึ่งการดำเนินการพัฒนาขับเคลื่อนด้านสิทธิมนุษชนให้เห็นผลและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเป็นการตอบสนองต่อความคาดหวังและการแสดงความรับผิดชอบในฐานะองค์กรที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญตามแนวทางที่สอดคล้องในการพัฒนาธุรกิจยั่งยืนและตามหลักสิทธิมนุษยชน
แนวทางปฏิบัติ
- มีการกำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร
- มีการปฏิบัติต่อพนักงาน/แรงงานที่สอดคล้องกับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน เช่น การจ้างงานผู้พิการ การเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับสวัสดิการผ่านตัวแทนคณะกรรมการสวัสดิการ เป็นต้น
- การเปิดเผยรายละเอียดกระบวนตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
- มีการดำเนินการสอดคล้องกับกระบวนการโดยระบุและเปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนเพื่อป้องกันผลกระทบในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนมีแนวทางการแก้ไขเยียวยา (Remediation) เมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินงานของบริษัท
S2. การพัฒนาศักยภาพแก่พนักงาน
หลักการ
พนักงานที่มีศักยภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ทางธุรกิจที่บริษัทกำหนด รวมถึงเพิ่มโอกาสในการพัฒนาผลิตผลและการสร้างโอกาสด้านนวัตกรรมทางธุรกิจรวมถึงโอกาสทางธุรกิจ การพัฒนาศักยภาพให้แก่พนักงานเป็นอีกวิธีหนึ่งในการจูงใจให้บุคลากรอยากร่วมงานหรือเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรไปพร้อมกัน
แนวทางปฏิบัติ
- การกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างเป็นระบบ โดยครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรมตามหน้าที่หรือผลประเมินพนักงาน
- กำหนดทิศทางการพัฒนาศักยภาพพนักงานผ่านการระบุเป้าหมายและโครงการส่งเสริมความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อสามารถติดตามผลการฝึกอบรม
- จัดให้มีการเก็บสถิติจำนวนชั่วโมงฝึกอบรมเพื่อทราบผลสำเร็จของโครงการพัฒนาศักยภาพของพนักงานตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมนั้น
S3. การจูงใจและการรักษาพนักงาน
หลักการ
การจูงใจและรักษาพนักงานที่มีศักยภาพ จะสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและมีโอกาสประสบความสำเร็จตามกลยุทธ์ที่องค์กรกำหนด แนวทางการจูงใจและรักษาพนักงานจะพิจารณาถึงกรอบการให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการทั้งในระยะสั้น และระยะยาวตามความเหมาะสมกับผลการดำเนินงานของพนักงานในทุกระดับทั่วทั้งองค์กร
แนวทางปฏิบัติ
- มีการพิจารณาการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคนด้วยเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนอ้างอิงผลสำเร็จของการปฏิบัติงานเพื่อนำผลประเมินสำหรับใช้กำหนดระดับค่าตอบแทน และเป็นข้อมูลสำหรับกำหนดโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
- มีการติดตามระดับความพึงพอใจหรือความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร โดยกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณและติดตามประเมินผลความพึงพอใจ และ/หรือความผูกพันของพนักงาน
- นำผลวิเคราะห์และจัดทำโครงการพัฒนาความพึงพอใจและปรับปรุงการดูแลพนักงาน
- ยกระดับการสื่อสารผลประเมินให้พนักงานรับทราบและเปิดเผยสถิติการลาออกของพนักงานเพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการพัฒนาและยกระดับการดูแลพนักงานอย่างต่อเนื่อง
S4. สุขภาวะและความปลอดภัยในการทำงาน
หลักการ
สุขภาวะและความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นประเด็นความยั่งยืนที่บริษัทให้สำคัญเพื่อสามารถบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม โดยบริษัทมีการดำเนินการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยโดยใช้มาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและได้รับการรับรองการจัดการตามมาตรฐาน ISO 45001 และมีการตั้งเป้าในการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นหยุดงานให้เป็นศูนย์ ด้วยตระหนักถึงผลกระทบความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวหากเกิดความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญอาจกระทบต่อชื่อเสียง และหากสามารถจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีจะเสริมสร้างระบบและกระบวนการทำงานได้อย่างปลอดภัยให้กับพนักงานซึ่งเป็นการประกันสภาพการทำงานที่พนักงานสามารถทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นปัจจัยสำคัญต่อระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร
แนวทางปฏิบัติ
- มีการบริหารจัดการให้พนักงานมีสุขภาวะและทำงานอย่างปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
- มีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- มีมาตรฐานการดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน
- มีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ผู้รับเหมา / คู่ค้า ที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- มีการกำหนดมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- มีการพิจารณาบันทึกอัตราการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate: LTIFR / Lost Time Incident Rate : LTIR) หรืออัตราการหยุดงาน (Absent Rate: AR) และการบันทึกสถิติการเกิดอุบัติเพื่อการสืบสวนถึงต้นเหตุของเหตุการณ์ในแต่ละครั้ง
- มีโครงการส่งเสริมความรู้ รวมถึงการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดความตระหนักและสามารถรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- มีการกำหนดกรอบแนวทางดำเนินการ โดยกำหนด

S5. การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม
หลักการ
การวางแนวให้การสนับสนุนและ/หรือการให้ความร่วมมือที่ดีกับภาคประชาสังคม ชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่น หรือหน่วยงานภาครัฐ โดยการเข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมให้ความร่วมมือ ร่วมกิจกรรมของภาคชุมชม สังคม และหน่วยงานท้องถิ่นทำให้การเข้าถึงการสำรวจรับทราบข้อมูลความเห็นหรือข้อกังวลเพื่อนำไปสู่การดำเนินการตอบสนองต่อความคาดหวัง อันจะนำมาซึ่งการสร้างให้เกิดมวลชนสัมพันธ์ที่ดีเพื่อลดข้อขัดแย้งหรือความเสี่ยงที่สามารถกระทบต่อชื่อเสียง และได้รับการสนับสนุนจากชุมชนเพื่อให้การดำเนินธุรกิจดำเนินการได้อย่างราบรื่นโดยได้รับความร่วมมือที่ดีจากภาคประชาสังคม ชุมชน ตลอดรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ
แนวทางปฏิบัติ
- การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมที่เกี่ยวข้อง มีการสำรวจข้อกังวัลของสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทเพื่อกำหนดแนวทางการลดผลกระทบที่มีต่อชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
- มีการมุ่งเน้นโครงการซึ่งมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนหรือแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืนผ่านกระบวนการทางธุรกิจโดยกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานร่วมกับชุมชนหรือเพื่อร่วมแก้ปัญหาสังคม เพื่อให้มีทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและยั่งยืน ตลอดจนมีการติดตามผลลัพธ์และประโยชน์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามกลยุทธ์ที่กำหนด ทั้งประโยชน์ที่บริษัทได้รับในเชิงปริมาณ/มูลค่า/ผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจ เช่น รายได้ กำไร ค่าใช้จ่ายที่ลดได้ หรือผลลัพธ์ในเชิงที่สามารถทำให้ระดับความเสี่ยงที่ลดลง หรือ ประโยชน์/ผลตอบแทนเชิงปริมาณทางสังคมที่เกิดต่อชุมชน หรือประโยชน์ต่อสังคมเชิงผลกระบวนการ (Output) หรือ ผลลัพธ์สุดท้าย (Outcome)

S6. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
หลักการ
กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท หรือสามารถส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้ทราบถึงประเด็นความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำไปประกอบการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมขององค์กร รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทสามารถกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของสังคม รวมถึงสร้างคุณค่าระยะยาวให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
แนวทางปฏิบัติ
- กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ประกอบด้วย
1.1) การกำหนดนโยบายที่ครอบคลุมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมกับองค์กร แนวทางการระบุและประเมินความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการอาศัยความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกัน
1.2) ดำเนินการและระบุเพื่อประเมินลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท การสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่มีความสำคัญ รวมทั้งรายงานผลการมีส่วนร่วมของบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสียต่อคณะกรรมการ - การดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนขององค์กร ซึ่งคณะกรรมการได้กำหนดกรอบนโยบายไว้เป็นแนวทางสำหรับดำเนินการ ผู้นำฝ่ายจัดการเป็นผู้รับกรอบนโยบายและติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทเพื่อให้เป็นไปในทิศทางที่ได้กำหนด โดยให้พนักงานได้เข้ามีส่วนร่วมเพื่อเสนอแนวคิดในการดำเนินการในรูปแบบกิจกรรมหรือโครงการ