การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน

SUTHA มีนโยบายว่าพนักงานทุกวิชาชีพทุกระดับทุกคนจะได้รับการพัฒนาอย่างเพียงพอและต่อเนื่องทั้งเรื่องงานในหน้าที่ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจตลอดจนการบริหารและการจัดการตามความเหมาะสมของหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานรวมทั้งสร้างจิตสำนึกในเรื่องคุณภาพให้แก่พนักงานทุกคนจากบุคลากรภายในที่เพียบพร้อมด้วยความรู้และประสบการณ์และจากสถาบันภายนอกที่มีชื่อเสียงโดยจะมีการทบทวนและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอทั้งนี้การฝึกอบรมและพัฒนาถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาพนักงานและฝ่ายทรัพยากรบุคคลร่วมกัน

โดยบริษัทจะดูแลความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานแต่ละบุคคลอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมโดยพิจารณาให้สอดคล้องกับระดับความรู้ทักษะความสามารถและระดับศักยภาพของพนักงานแต่ละบุคคล

การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง อันจะนำมาซึ่งการเติบโตและก้าวหน้าขององค์กรอย่างยั่งยืน การวางแผนการสืบทอดตำแหน่งต้องมีการทำงานร่วมกันทั่วทั้งองค์กร เป็นกระบวนการที่ออกแบบมาเพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทและบริษัทย่อย จัดเตรียมและเตรียมความพร้อมสำหรับพนักงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง ผ่านการให้คำปรึกษา ฝึกอบรมและการหมุนเวียนงาน เพื่อเติมเต็มตำแหน่งที่ว่างเนื่องจากการเกษียณอายุ การลาออก เสียชีวิต หรือโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ โดยนโยบายการวางแผนสืบทอดตำแหน่งได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้มั่นใจถึงเสถียรภาพและความรับผิดชอบขององค์กรด้วยการเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงของผู้นำอย่างถาวร ทั้งที่วางแผนไว้หรือไม่ได้วางแผนไว้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานและการบริหารงาน เมื่อกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงออกจากตำแหน่ง

บริษัทมุ่งพัฒนากลุ่มผู้สมัครที่หลากหลาย โดยการพัฒนาเส้นทางอาชีพสำหรับพนักงาน ที่จะช่วยให้บริษัทสามารถรับสมัคร ฝึกอบรม และรักษาพนักงานที่มีศักยภาพสูง รวมถึงพนักงานที่มีความสามารถสูงไว้ได้ การพัฒนากลุ่มผู้สมัครที่หลากหลาย โดยมีการประเมินความต้องการด้านการเป็นผู้นำในปัจจุบันและในอนาคตของบริษัท เพื่อให้แน่ใจว่ามีการคัดเลือกผู้นำที่มีคุณสมบัติ และมีความสามารถ ที่เหมาะสมกับพันธกิจ วิสัยทัศน์ และวัตถุประสงค์ของบริษัท ควบคู่ไปกับทักษะที่จำเป็นสำหรับบริษัท

ความรับผิดชอบต่อการวางแผนการสืบทอดตำแหน่ง

    1) การสรรหาและเลือกตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท

  • กรรมการ
  • กรรมการผู้จัดการของบริษัทและบริษัทย่อย
  • คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบในการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งกรรมการ กรรมการผู้จัดการของบริษัท และกรรมการผู้จัดการของบริษัทย่อย โดยคณะกรรมการมีการพิจารณาสรรหาบุคคลไม่ว่าจะเป็นจากภายในองค์กรหรือจากภายนอกองค์กร โดยบุคคลที่เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติของกรรมการหรือคุณสมบัติของผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน และไม่ควรมีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน หรือพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรณีแต่งตั้งกรรมการใหม่ คณะกรรมการจะต้องนำเสนอชื่อบุคคลที่จะแต่งตั้งต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติการแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัท

    2) การสรรหาและคัดเลือกโดยกรรมการผู้จัดการหรือหัวหน้าแผนก

  • ผู้บริหาร
  • ผู้จัดการอาวุโส
  • ผู้จัดการ
  • หัวหน้าหน่วยงาน
  • กรรมการผู้จัดการรับผิดชอบในการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับต่าง ๆ ภายในบริษัทด้วยความช่วยเหลือจากฝ่ายบริหารระดับสูง ในกรณีบริษัทไม่มีบุคคลภายในที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมให้พิจารณาจากบุคคลภายนอก โดยบริษัทอาจมอบหมายให้บริษัทจัดหางานมืออาชีพสรรหาบุคคลที่เหมาะสม

    3) กระบวนการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง

  • 3.1 บริษัทควรกำหนดคุณสมบัติ ความสามารถ และทักษะ ของบุคลากรที่จำเป็นในการดำรงตำแหน่งสำคัญ ตาม วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ของบริษัท
  • 3.2 กำหนดความสามารถที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งสำคัญ
  • 3.3 กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับความสามารถของพนักงานหรือลูกจ้างที่ได้รับคัดเลือก
  • 3.4 วิเคราะห์และเปรียบเทียบความสามารถระหว่างตำแหน่งที่สำคัญ และคัดเลือกพนักงานให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ว่างลง
  • 3.5 สร้างแผนการพัฒนาระดับสูงให้กับพนักงานที่ได้รับคัดเลือกเพื่อขยายสู่ตำแหน่งเป้าหมาย
  • 3.6 ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่เลือกเป็นระยะ ๆ
  • 3.7 สังเกตการณ์ และติดตามความก้าวหน้าโดยรวม

    4) ปัจจัยความสำเร็จ

  • การสนับสนุนจากคณะกรรมการบริษัท กรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหาร มีความสำคัญต่อกระบวนการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง เพื่อให้พนักงานทุกคนมีความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการวางแผนสืบทอดตำแหน่งให้กับบริษัท
ดาวน์โหลดเอกสาร
ชื่อไฟล์ : การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
ขนาดไฟล์ : 328 KB
ชนิดไฟล์ : pdf
ดาวน์โหลด